ปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์ ถ้าคิดจะทำ การลงทุนในตลาดหุ้น
ท่านคงพอทราบแล้วว่า การลงทุนในตลาดหุ้น นั้นเป็นการทำกำไร ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ การลงทุน ในตลาดหุ้นส่วนมากจะเป็นการออมเงินระยะยาว และ อาจจะมีความเสี่ยงกับเราด้วย ความไม่แน่นอนจะส่งผลต่อการลงทุนไม่มากก็น้อย ฉะนั้น ผมจึงอยากให้ทุกท่านรู้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรระวังใน การลงทุนในตลาดหุ้น แต่ละครั้ง 4 ปัจจัยที่เราต้องวิเคราะห์มีดังนี้ คือ
-
วิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
การลงทุนนั้น ควรดูที่อัตราเงินเฟ้อว่าจะมีแนวโน้มสูง ตลาดเงินขาดสภาพคล่อง จนทำให้ธนาคารต้องใช้มาตรการตรึงอันตราดอกเบี้ยหรือไม่ ปัจจัยเช่นนี้เป็นปัจจัยลบต่อการเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ สิ่งที่ผู้ลงทุนทำได้โดยการชะลอซื้อขายออกไปก่อน นอกจากนี้ผู้ลงทุนควรวิเคราะห์ด้วยว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ (FED) จะประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นหรือไม่ ถ้ามีการประกาศออกมา ผลที่เกิดขึ้นก็คือเงินทุนจะไหลออกจากประเทศเพื่อไปหาผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
-
วิเคราะห์การเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับการลงทุนแล้ว หลายๆ ครั้งที่การเมืองมีความวุ่นวาย ผู้ลงทุนควรที่จะนำหุ้นออกมาเทขายเพื่อลดความเสี่ยง หรือ เกือบทุกครั้งที่มีการประชุมอภิปราย หากผู้ลงทุนมั่นใจก็จะเกิดแรงซื้อเข้ามา จนทำให้ตลาดนั้นปรับตัวขึ้นมาก็เป็นได้
-
วิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรม
การลงทุนในแต่ละครั้งควรดูว่า สถาบันนั้นๆ กำลังประสบปัญหาการเพิ่มทุนบ่อย มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงหรือไม่ ปัญหา หล่าวนี้จะทำให้สถาบันการเงินประสบแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง แล้วถ้ายอดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในตลาดลดลงอย่างมาก อาจส่งผลในทางลบต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ทำการซื้อขายหุ้น
-
วิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ
สิ่งที่ไม่ควรลืมอีกอย่างนึงสำหรับ การลงทุน คือ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยการดูการขยายตัวของบริษัทในอดีตไปจนถึงการประมาณผลกำไรของบริษัทในอนาคต ซึ่งบริษัทที่ใหญ่ย่อมได้เปรียบบริษัทเล็กอยู่แล้ว และ ควรดูด้วยว่าบริษัทประสบด้านเงินทุนหรือไม่ รวมไปถึงประสบการของผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์กำไรต่อหุ้น หรือ Earnings per share ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นตามบัญชี (P/BV) และ วัดสภาพคล่อง Current Ratio ด้วย
ส่วนนักลงทุนท่านที่สนเรื่องการลงทุนที่มากขึ้นกว่านี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บล. เอเซีย พลัส เบอร์ 02 680 1000 หรือ ทางเว็บไซต์ www.asiaplus.co.th