สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงข้อดีข้อเสียของกองทุนจ่ายปันผลก่อนว่าผู้ลงทุนนั้นมีประโยชน์อย่างไร
1 มีผลตอบแทนเป็นเงินปันผล ตามแต่ละนโยบายของกองทุน เช่น บางกองทุนกำหนดว่า ปันผลไม่เกินปีละ 12 ครั้ง หรือ บางกองทุนกำหนดปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2 ต้องจ่ายภาษี 10% เมื่อมีการจ่ายปันผลทุกครั้ง รายรับที่ได้จะโดยหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% (จริงๆสามารถเลือกให้ไม่หักภาษีทันทีได้ แต่ลุงนกฮุกแนะนำว่าให้หักภาษีไปเลยจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายในการเสียภาษีภายหลัง)
3 กองทุนไม่ค่อยมีความเติบโต เพราะเมื่อมีการปันผลก็ต้องไปหักออกจากค่า NAV เช่น ถ้ามีการปันผล 0.20 ต่อหน่วย หากค่า NAV อยู่ที่ 13.2000 เมื่อมีการจ่ายปันผลค่า NAV จะตกไปที่ 13 บาทต่อหน่วยทันที ดังนั้นถ้ากองทุนไหนขยันจ่ายเงินปันผล จะพบว่าค่า NAV จะไม่สูงนัก
4 ลดความเสี่ยงขณะที่ตลาดหุ้นตกหนัก เนื่องจากได้รับเงินปันผลมาบางส่วนแล้ว เช่นกองทุน KFSDIV ในช่วงปี ต้นปี 2012 ถึงกลางปี 2013 ค่า NAV สูงถึง 17.27 บาทต่อหน่วย และมีค่าเฉลี่ยในช่วงดังกล่าวสูงกว่า 15 บาทต่อหน่วยลงทุน และปลายปี 2013 ค่าNAV ก็ลดมาถึง 12 บาทต่อหน่วย จนปี 2014 ตลอดทั้งปี ค่าNAV กลับมาเฉลี่ยที่ 13 บาท ต่อหน่วยลงทุน และได้มีการลดลงอย่างน่าตกใจในช่วงปี 2015 จนมีราคาต่ำสุดที่ 9.5 บาทต่อหน่วยลงทุน แต่ตลอด 4 ปี (2012 – 2015) กองทุนมีการจ่ายปันผลถึง 16 ครั้ง (7.75 บาทต่อหน่วยลงทุน) แน่นอนแม้ว่าค่า NAV จะตกต่ำลงแต่การจ่ายปันผลก็สามารถทดแทนความปันผวนของค่า NAV ได้ ดังนั้นกองทุนจ่ายปันผลจึงช่วยลดความเสี่ยงในภาวะตลาดหุ้นตกต่ำได้เป็นอย่างดี
5 เงินปันผลเป็นกับดักสำหรับนักลงทุน ที่ไม่สนใจและติดตามความเป็นไปของตลาดหุ้น เพราะบางกองทุนไม่สามารถทำกำไรได้ตามนโยบาย แต่ก็ยังปันผลออกมาโดยใช้เงินต้นทุนแทนเงินกำไร ทำให้ค่า NAV ลดลงไปเรื้อยๆ (เป็นการลดลงที่ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ลดลงเพราะมีการนำเงินต้นทุนมาจ่ายปันผลแทน) อันนี้ก็จะน่ากลัวมาก ถ้าผู้ลงทุนไม่สนใจและติดตามดูผลประกอบการของกองทุนที่ลงทุนไป
CR. ลุงนกฮูก (กรัณย์ รุ่งทวีสิน)
#AsiaPlus #ASPTips #Stocktips #StockMarket#หุ้น #หลักทรัพย์ #ลงทุน