ศึกษาข้อมูลก่อน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตอนที่2

0
3209
ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

กลับมาตอนที่ 2 แล้วนะครับ หลังจาก ที่เราพูดถึงตอนที่1 ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ไป เราได้รู้เรื่องกฎและข้อบังคับตราสารต่างประเทศที่อนุญาติให้ลงทุนได้กันไปแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ มาติดตามกันต่อนะครับว่ามีเรื่องอะไรบ้าง

 

เริ่มกันเลยครับกับเรื่อง การจัดสรรเงินลงทุนที่ กลต. กำหนดให้นักลงทุน สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้

 

  • บุคคลธรรมดา วงเงินสูงสุด 50 ล้าน(USD) วงเงินจัดสรรต่อครั้ง 5 แสน(USD) การขอจัดสรรเพิ่มเติม เมื่อใช้ไปถึง 4 แสน(USD)
  • นิติบุคคล ทรัพย์สิน < 1,000 ล้านบาท วงเงินสูงสุด 50 ล้าน(USD) วงเงินจัดสรรต่อครั้ง 5 แสน(USD) การขอจัดสรรเพิ่มเติม เมื่อใช้ไปถึง 4 แสน(USD)
  • นิติบุคคล ทรัพย์สิน > 1,000 ล้านบาท 50 ล้าน(USD) วงเงินจัดสรรต่อครั้ง 5 ล้าน(USD) การขอจัดสรรเพิ่มเติม เมื่อใช้ไปถึง 4 ล้าน(USD)

หมายเหตุ: นักลงทุนสามารถขอจัดสรรวงเงินพิเศษ (ขอใช้เต็มวงเงินสูงสุด) ได้แต่จะมีอายุเพียง 7 วันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติ

 

 

ต่อกันในเรื่องของ “กฎระเบียบและข้อบังคับอื่นๆ” ที่นักลงทุนหรือผู้สนใจในการลงทุนหลักทรพย์ต่างประเทศควรรู้ไว้

 

  • เงินที่ใช้ในการลงทุนของลูกค้าต้องไม่ได้มาจากการกู้ยืม
  • นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงค่าเงินได้ (Hedging) กับธนาคารพาณิชย์โดยต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกลูกค้าสามารถแจ้งให้บริษัทเป็นผู้ทำรายการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินแทนลูกค้าได้
  • นักลงทุนไม่สามารถโอนหลักทรัพย์, ตราสารอนุพันธ์และหรือ เงินค่าขายในบัญชีไปยังสถาบันการเงินอื่นในต่างประเทศได้
  • บัญชีร่วม และบัญชีคณะบุคคลไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ในต่างประเทศได้
  • วงเงินที่ขออนุมัติจะมีอายุ 30 วัน หากไม่มีการใช้วงเงินระบบจะดึงคืนโดนอัตโนมัติ

 

ด้านภาษีเงินได้สำหรับการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรเป็นบ้าง

  • เงินได้ที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศ เช่น กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์, เงินปันผล, ดอกเบี้ยรับ
  • ลูกค้าที่ได้รับเงินได้ดังกล่าวจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ และกฎหมายของแต่ละประเทศที่ไปลงทุน
  • ลูกค้าจะไม่ต้องเสียภาษี ให้แก่กรมสรรพากร ประเทศไทยอีก หากนำเงินลงทุนและเงินได้ ดังกล่าวกลับเข้ามาประเทศไทยในปีภาษีถัดไป (ข้ามปีภาษี) แต่ถ้าไม่มีกำไร หรือ ไม่ได้รับเงินได้อื่น ก็นำกลับมาได้เลย
  • ลูกค้าควรเลือกไปลงทุนในประเทศที่ไม่เก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นหลัก

 

สุดท้ายนี้เราจะมาดูช่วงเวลาในการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศของแต่ละประเทศกัน

 

หมายเหตุ: ตลาดในแถบยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกา ช่วงเวลาทำการอาจช้าลงอีกหนึ่งชั่วโมง แล้วแต่ฤดูกาล (Day light หรือ Non-Day light saving)

 

หากนักลงทุนมีความสนใจในการลงทุนหลักทรัพย์ทรัพย์ต่างประเทศ กับ บล.เอเซีย พลัส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ www.asiaplus.co.th