สวัสดีครับนักลงทุนและผู้สนใจลงทุนทุกท่านวันนี้เราจะมาพูดถึงความรู้พื้นฐาน Derivative Warrants หรืออีกตัวย่อที่นักลงทุนมักจะเห็นได้บ่อยๆอย่าง DW ว่ามันคืออะไร และ ชื่อย่อบนกระดานของมันมีความหมายว่าอย่างไร มีข้อดีในการลงทุนอย่างไร พร้อมแนะนำหุ้นใหม่แกะกล่องจากค่าย DW08 อีก 18 ตัว ไปดูกันเลยครับ
DW ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) คืออะไร
DW คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหุ้นอ้างอิง (ในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนดในอนาคต) โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม อาจพูดง่ายๆ ว่า DW มีลักษณะเหมือน Warrants ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีความแตกต่างกันที่ผู้ออก ไม่ใช่เจ้าของบริษัทหุ้น เหมือนกับ Warrant ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.
โดยผู้ออก DW จะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดของเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับ DW ไว้ในข้อกำหนดสิทธิของ DW ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน ข้อกำหนดสิทธิ เช่น ราคาใช้สิทธิ ระยะเวลาใช้สิทธิ อัตราใช้สิทธิ เหตุการณ์ที่จะมีการปรับราคาและอัตราใช้สิทธิ เงื่อนไขในการทำหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง เป็นต้น
ทีนี้เรามาทำความเข้าใจชื่อย่อ DW บนกระดานซื้อขายกันครับ หลายครั้งที่เราเห็นแต่ไม่รู้ว่าความหมายของคำเหล่านั้น มาดูกับครับว่าในแต่ละตัวย่ออธิบายอะไรให้เราได้รู้กัน
DW Code : UUUUIICYYMMA
UUUU ชื่อย่อ 4 หลักของสินทรัพย์อ้างอิง
II รหัสผู้ออก 2 หลัก ปัจจุบันหมายถึง หมายเลขบริษัทสมาชิก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
C ประเภท DW – สิทธิที่จะซื้อ (Call Warrant) แทนด้วย C และ
สิทธิที่จะขาย (Put Warrant) แทนด้วย P
Call DW คือ สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิงที่ราคาใช้สิทธิในอนาคต ดังนั้น Call DW เหมาะสำหรับ นักลงทุนที่มองว่าหุ้นจะขึ้นในอนาคต
Put DW คือ สิทธิในการขายหุ้นอ้างอิงที่ราคาใช้สิทธิในอนาคต ดังนั้น Put DW เหมาะสำหรับ นักลงทุนที่มองว่าหุ้นจะลงในอนาคต
YYMM ชื่อย่อของปี ค.ศ. และเดือนของวันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Month)
A รุ่น โดยเรียงจาก A-Z ตามรุ่นที่มี Last Trading Month เดียวกัน
เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ผมขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ
“AOT08C1801A” คือหุ้น DW ที่อ้างอิงหุ้น AOT
ผู้ออก DW : บล. เอเซีย พลัส หมายเลข 08 (หมายเลขบริษัทสมาชิก ตลท.)
C คือ Call (จะลงทุนในขาขึ้น)
1801 คือ DW หมดอายุ ปี 2018 เดือน มกราคม
A ตัวหลังคือ รุ่น หรือ Series และเป็น DW ที่มีวันหมดอายุอยู่ในเดือนเดียวกัน
มาดูข้อดีของการซื้อขาย DW กันดีกว่าครับ
- ใช้เงินลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนใน DW สูงหรือต่ำกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นอย่างมาก
- เป็นสินค้าที่ให้อัตราทด หรือ Leverage แก่นักลงทุน คือ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นอ้างอิง และให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในหุ้นอ้างอิงหากเทียบในปริมาณเงินเท่ากัน
- เพิ่มทางเลือกในการลงทุนในช่วงตลาดขาลง หรือใช้ป้องกันความเสี่ยง โดยการใช้สามารถทำได้ในลักษณะซื้อ DW เปรียบเสมือนการซื้อประกัน ประกันว่าถ้าราคาหุ้นแม่ลดลง ตัว DW จะจ่ายชดเชยเป็นกำไรส่วนต่างมาให้
สุดท้ายตอนนี้ทาง บล. เอเซีย พลัส เองได้มี DW ใหม่แกะกล่องล่าสุดจากค่าย08 อีก18 ตัว เทรดกันได้ยาวๆ จนถึง มกราคม 2018
AOT08C1801A, BEC08C1801A, BIG08C1801A,
CHG08C1801A, COM708C1801A, DTAC08P1801A,
GFPT08C1801A, GUNK08C1801A, LPN08C1801A,
MEGA08C1801A, PTT08C1801A, PTTE08C1801A,
SAWA08C1801A, SIRI08C1801A, SPRC08C1801A,
STPI08C1801A, TISC08C1801A, TPIP08C1801A
- ซื้อขายมั่นใจ รู้ราคาล่วงหน้า วางแผนเทรดได้ง่ายขึ้น
- รู้ราคาซื้อขายที่เหมาะสม (Fair Price) ถึง 6 วันล่วงหน้า ทำให้ซื้อขาย DW08 ได้อย่างมั่นใจ
หากลูกค้าท่านใดถือ DW ใกล้หมดอายุแล้ว แนะนำให้ลองเปรียบเทียบกับหุ้นตัวใหม่ในค่าย DW08 อีก18 ตัวใหม่นี้ดูนะครับ และ ลูกค้าท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-680-1777 หรือ www.asiaplus.co.th